การสร้างธุรกิจหรือแบรนด์ของเราให้น่าสนใจนั้น นอกจากผลิตภัณฑ์ นโยบาย การจัดการ ฯลฯ ที่ดีแล้ว โลโก้ของแบรนด์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย เพราะถ้าลูกค้าหรือคนทั่วไป แค่มองเห็นโลโก้ ก็ทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่น่าจดจำขึ้นมาได้แล้ว ทั้งนี้ การออกแบบโลโก้สวยๆ จึงมีความจำเป็นอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ไม่ใช่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าด้วย
สำหรับเว็บไซต์ต่อมาที่เราจะมาแนะนำกันนั้น เป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ง่ายมาก แถมยังทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อเราเข้าเว็บไซต์ ก็สามารถกดที่ Start Logo Maker ได้เลยทันที เมื่อเข้าไปที่หน้าของการออกแบบแล้ว เราก็สามารถเลือกออกแบบโลโก้ของเราได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การใส่ข้อความ ตัวอักษร ใส่รูป สัญลักษณ์ รูปทรง ฯลฯ แถมถ้าหากเราสมัครบัญชีแบบฟรี เราก็สามารถที่จะบันทึกงานออกแบบของเราไว้ แล้วกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ด้วย สะดวกมากๆ
Website ☛ onlinelogomaker
สำหรับ Canva นั้น เป็นเว็บไซต์สำหรับการออกแบบที่มีมากมายให้เลือก ไม่ว่าจะเป้นการสร้างสรรค์หน้าปก โปสเตอร์ แต่งรูป รวมไปถึงออกแบบโลโก้ฟรีด้วย แต่สำหรับใครที่ต้องการในระดับโปร ก็จะมีค่าบริการ แต่แค่ใช้งานสำหรับที่เปิดให้ใช้ฟรี ก็ถือว่าเพียงพอมากๆ แล้ว ด้วยเทมเพลตของโลโก้ที่มีให้เลือกมากมายเป็นร้อยๆ แบบ ลูกเล่นก็เยอะ รวมไปถึงฟอนต์ด้วย สำหรับการใช้งานนั้น ก็เริ่มต้นจากการเลือกเทมเพลตของโลโก้ในแบบที่เราต้องการ จากนั้นก็สามารถเลือกใส่ข้อความ รูปภาพ สี ฯลฯ เพื่อให้ได้โลโก้ในแบบที่เราต้องการ นอกจากนี้ตัวเว็บก็ยังรองรับการใช้งานภาษาไทยด้วย เมื่อเราออกแบบโลโก้เสร็ตแล้ว ก็สามารถ Export งานออกมาเป็นไฟล์ PNG นำไปใช้งานได้เลยทันทีแบบฟรีๆ แต่สำหรับไฟล์ SVG นั้น ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 435 บาท/เดือน โดยสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 30 วัน
Website ☛ canva
Designhill ตัวช่วยออกแบบ logo ของเราให้ทันสมัย ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์, iPad, Smartphone โดยตัวเว็บจะมีตัวอย่างเทมเพลตให้เลือกมากมาย เพียงแค่กรอกชื่อโลโก้ลงไป ใส่สัญลักษณ์ที่ชื่นชอบ กด generate ก็จะออกมาเป็นโลโก้ให้เราใช้งาน โดยเบื้องต้นนั้นเราสามารถใช้งานออกแบบโลโก้ได้เลยฟรีๆ แต่หากต้องการเพิ่มระดับของการสร้าง ก็อาจจะต้องอัพเกรดเป็นแบบเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งก็จะได้โลโก้ที่มีเอกลักษณ์ที่สวยงามกว่าแบบฟรี โดยราคาเริ่มต้นสำหรับไฟล์ขนาดเล็กนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 480 บาท และในส่วนของแพ็กเกจสำหรับไฟล์ทั้งหมด ย่อขยายได้โดยไม่แตก สามารถปรับแก้ไขได้ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1,570 บาท
ข้อดีของเว็บไซต์นี้คือ จะมีการแนะนำการจัดวางโลโก้ของเราลงบนสินค้า packaging แบบต่างๆ ป้ายหน้าร้านให้เราดูตัวอย่างก่อนการสั่งซื้อและตัดสินใจ และข้อสังเกตก็คือ ไม่สามารถแสดงผลตัวหนังสือภาษาไทยผ่านระบบได้ เราจะต้องซื้อโลโก้มาก่อน ถึงจะแก้ไขได้ด้วยตนเองภายหลัง
Website ☛ designhill
เว็บไซต์นี้เขาเคลมว่ามีแบรนด์กว่า 1 ล้านแบรนด์มาใช้บริการทำ logo ฟรีกับเขา อยากรู้ว่าดีขนาดไหน ก็ลองใช้ดูได้เลยค่ะ ฟรีแน่นอน ซึ่งเว็บนี้จะช่วยให้คุณสร้าง logo ฟรีได้ง่ายๆ แค่พิมพ์ชื่อบริษัทของคุณ โดยจะมีพรีวิวเทมเพลตกว่าพันตัวอย่างให้คุณเลือก ออกแบบโลโก้ด้วยตัวเองเพียงแค่เปลี่ยนสี รูปร่าง และฟอนต์ หลังจากนั้นก็ดาวน์โหลดได้ฟรี
Website ☛ freelogodesign
ขวดซอสซึ่งพิมพ์ปริมาณบรรจุที่ฉลากไว้ว่า CONTENT 237 ML ไปหาผู้จัดการของร้าน แล้วถามว่า “คุณคิดว่าซอสขวดนี้จะจุได้ 237 ล้านลิตรเชียวหรือครับ?” ผู้จัดการยืนงงอยู่สักครู่แล้วก็ถึงบางอ้อ เลยรีบขอโทษในความผิดพลาดอันเนื่องจากการใช้ตัวย่อของหน่วยผิด เพราะความจริงฉลากของซอสขวดดังกล่าวต้องพิมพ์ CONTENT 237 mL ซึ่งหมายความว่าความจุของซอสในขวดเป็น 237 มิลลิลิตร บทความนี้ผู้เขียนใคร่ขอนาเสนอสาระของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสินค้า โดยจะครอบคลุมตัง้ แต่ระบบของหน่วย ตัวย่อของหน่วย และหลักการใช้ตัวย่อของหน่วย ระบบของหน่วยแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบเมตริกและระบบอังกฤษ ในปัจจุบันระบบเมตริกได้รับความนิยมอย่างสูงแทบทุกประเทศ จนถือได้ว่าเป็นหน่วยสากลระหว่างชาติ และได้รับการกาหนดไว้ใน System International d’ Unites หรือรู้จักกันในชื่อสั้น ๆ ว่าหน่วย SI ส่วนหน่วยระบบอังกฤษนั้น ในปัจจุบันยังคงนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ แม้ว่าจะมีการแนะนาให้เปลี่ยนมาใช้ระบบเมตริกตัง้ แต่ 1 ตุลาคม 2535 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก สินค้าที่จาหน่ายในสหรัฐอเมริกายังมีการใช้หน่วยระบบอังกฤษอยู่อย่างมาก และบางครัง้ ทาความสับสนให้กับผู้บริโภคที่มิใช่คนอเมริกันอย่างเช่นพวกเราการเปลี่ยนหน่วยระบบอังกฤษมาเป็นระบบเมตริก เช่น ความจุที่เคยเป็นออนซ์ (ounce) เปลี่ยนเป็นมิลลิลิตร (millilitre) ความจุที่เคยเป็นควอท (quart) เปลี่ยนเป็นลิตร (litre) น้าหนักจากปอนด์ (pound) เปลี่ยนเป็นกรัม (gram)หรือกิโลกรัม (kilogram) ความยาวจากนิ้ว (inch) หรือ หลา(yard) เปลี่ยนเป็นเซนติเมตร(centimetre) หรือ กิโลเมตร(kilometre)
หลักการใช้ตัวย่อของหน่วยในภาษาอังกฤษ
สำหรับหน่วยในภาษาไทย ท้ายของตัวย่อของหน่วยต้องมีจุดเสมอ ถ้ามีพยัญชนะ 2 ตัว จะไม่มีจุดระหว่างพยัญชนะ เช่น มิลลิลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มล. ลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ล. กิโลกรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า กก. กรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า ก. ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า 〖ซม.〗^3 มิลลิเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มม. เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ซม. ในประเทศไทยได้มีกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมความสูงของตัวอักษรหรือตัวเลขของปริมาณบรรจุที่ต้องแสดงไว้ที่บรรจุภัณฑ์ทุกหน่วย แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ใช่เรื่องของหน่วยโดยตรง แต่ก็มีการใช้กับหน่วยของปริมาณบรรจุ จึงขอสรุปมา ณ ที่นี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศเรื่อง “กำหนดชนิดของสินค้าหีบห่อ หลักเกณฑ์ และวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าและอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด” ในปี พ.ศ.2550 ดังสรุปในตารางข้างล่างนี้การแสดงปริมาณของแต่ละหีบห่อ ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือมิลลิลิตร) ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร) ไม่เกิน 50 2 เกิน 50 แต่ไม่เกิน 200 3 เกิน 200 แต่ไม่เกิน 1,000 4 เกิน 1,000 6 การแสดงปริมาณของหีบห่อรวม ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือ มิลลิลิตร) ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร) ไม่เกิน 50 3 เกิน 50 6 หลักเกณฑ์ของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งไม่ยาก และน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง โดยเฉพาะท่านผู้ประกอบการผลิตสินค้า และนักออกแบบฉลากทัง้ หลาย โปรดให้ความสนใจกับการใช้ตัวย่อของหน่วยบนฉลากซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าผิดพลาดขึ้น มาก็คงจะน่าอายเหมือนกัน เพราะข้อความ Product of Thailand และ ชื่อบริษัทของท่าน ซึ่งปรากฏบนสินค้านั้น จะฟ้องตัวเองอย่างชัดเจน